เส้นทางรถไฟฟ้า ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ แม้ว่าจะมีเส้นทางที่มีระยะทางรวมกว่า 23.6 กิโลเมตรและจำนวนสถานีของแนวเส้นทางนี้ก็มีอยู่ 17 สถานี โดยที่ 7 สถานีเป็นสถานีใต้ดิน แต่มีพื้นที่ที่สามารถพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ไม่มากนัก เพราะเส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางนี้ผ่านพื้นที่มีข้อจำกัดในการพัฒนามาก รวมไปถึงเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่ผ่านพื้นที่ และเขตชุมชนดั้งเดิมของกรุงเทพมหานครซึ่งมีข้อจำกัดในการพัฒนาค่อนข้างมาก
รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ พลิกข้อจำกัดเป็นโอกาส “พื้นที่อนุรักษ์”เกาะรัตนโกสินทร์
ฝ่ายวิจัย และที่ปรึกษา คุชแมน แนอด์ เวคฟีลด์ ประเทศไทยวิเคราะห์ว่าเส้นทาง เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่หรือเป็นอีกหนึ่งเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมจังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานครในแนวเหนือ-ใต้เข้าด้วยกัน ดังนั้น เส้นทาง จะมีสถานีร่วมหรือจุดที่ตัดกับเส้นทางรถไฟฟ้าอื่นๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้เชื่อมต่อกันเป็นสถานีเดียว แต่ก็อยู่ในระยะที่เดินถึงกันได้หลายสถานีในแนวเส้นทาง
เช่น สถานีเตาปูนเป็นสถานีร่วมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงินสถานีสามยอดเป็นสถานีร่วมกับสายสีนํ้าเงิน สถานีวงเวียนใหญ่เป็นสถานีร่วมกับสายสีเขียว เป็นต้น นอกจากนี้ในอนาคตอาจจะมีสายสีส้มตะวันตกที่สถานีผ่านฟ้า และสายสีทองที่สถานีสะพานพุทธเพิ่มเติมอีกหลังจากนี้ ถ้าเส้นทางเหล่านี้ดำเนินการก่อสร้าง
ขณะความก้าวหน้าของการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2568 อยู่ที่ประมาณ 54.58% ซึ่งการที่มีทั้งส่วนที่เป็นเส้นทางและสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ใต้ดิน และต้องลอดผ่านแม่นํ้าเจ้าพระยาอีกด้วยจึงอาจจะทำให้เส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางมีกำหนดแล้วเสร็จที่ประมาณปี2572
ความคืบหน้าของเส้นทางและสถานีในฝั่งพระนครเกินกว่า 50% ไปแล้วเกือบทุกสถานี ส่วนเส้นทางและสถานีในฝั่งธนบุรีคืบหน้าไปแล้วในช่วงประมาณ 14.28-45.9% การก่อสร้างบางช่วงอาจจะล่าช้า เพราะมีการรื้อถอนสะพานข้ามแยก และมีความอ่อนไหวในการก่อสร้างด้วย แต่คาดการณ์จะเสร็จทันกำหนดแน่นอน
เส้นทาง อาจจะไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ตามแนวเส้นทางมากนัก เพราะพื้นที่ส่วนหนึ่งของแนวเสนทางอยู่ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ หรือพื้นที่อนุรักษ์ รวมไปถึงพื้นที่บางส่วนมีข้อจำกัดในการพัฒนาค่อนข้างมาก นอกจากนี้พื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนามานานแล้ว แต่หากพัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์ขนาดเล็กที่มีจำกัดความสูงแต่สร้างมูลค่าให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ
ทั้งนี้การหาที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ทำได้ยากแล้วในปัจจุบัน การเปลี่ยน แปลงในพื้นที่ตามแนวเส้นทางอาจจะเห็นได้ชัดเจนในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ตั้งแต่บริเวณรอบ สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวไปตามแนวถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินต่อเนื่องไปถึงถนนสุขสวัสดิ์ รวมไปถึงถนนใกล้เคียง เช่น ถนนราษฎร์บูรณะ เป็นต้น และพื้นที่ตามแนวถนนบางช่วง เช่น พื้นที่ตามแนวถนนสามเสนซึ่งมีการเปิดขายโครงการขนาดใหญ่ตอนปลายปี2566 นอกนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นเลย selfmatters